วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้งาน SPSS

การใช้งานโปรแกรม SPSS 
โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง  ใช้กับปฏิบัติการ Window 95 ขึ้นไป หน่วยประมวลผลกลางขั้นต่ำ คือ เพนเทียม โดยมีหน่วยความจำ 32 เมกกะไบต์ และพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสค์อย่างน้อย 68 เมกกะไบต์
•  การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor  
•  ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001 Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10 point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น
•  การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
•  การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น
โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง
•  การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
•  เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น